วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ภาษาวิบัติ ภาษาที่ไม่ควรเอาเยี่ยงอย่าง


                       ภาษาวิบัติ หรือ ภาษาอุบัติ เป็นคำเรียกของการใช้ภาษาไทย ที่มีการเปลี่ยนแปลง และไม่ตรงกับกับภาษามาตรฐานตามหลักภาษาไทยในด้านการสะกดคำ คำว่า 'ภาษาวิบัติ' ใช้เรียกรวมถึงการเขียนที่สะกดผิดบ่อยรวมถึงการใช้คำศัพท์ใหม่หรือคำศัพท์ที่สะกดให้แปลกไปจากคำเดิม
        ในประเทศไทยมีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงปัญหาเด็กไทยขาดการศึกษารวมถึงปัญหาภาษาวิบัติทำให้เด็กไทย ไม่สามารถใช้ภาษาไทยได้มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรในขณะเดียวกันได้มีการใช้คำว่าภาษาอุบัติแทนที่ภาษาวิบัติที่มีความหมายในเชิงลบ โดยภาษาอุบัติหมายถึงภาษาที่เกิดขึ้นมาใหม่ ตอบสนองวัฒนธรรมย่อย เช่นเดียวกับภาษาเฉพาะวงการที่เป็นศัพท์สแลงคำว่า "วิบัติ" มาจากภาษาบาลีมีความหมายถึง พินาศฉิบหาย หรือความเคลื่อนทำให้เสียหาย
ลักษณะและตัวอย่าง
สะกดผิดได้ง่าย 
       เป็นรูปแบบของคำที่มีการสะกดผิด ซึ่งเกิดจากคำที่มีการผันอักษรและเสียงไม่ตรงกับรูปวรรณยุกต์
สนุ๊กเกอร์ (สนุกเกอร์)
โน้ต (โน้ต)
คำที่สะกดผิดเพื่อให้แปลกตา 
นู๋ (หนู)
ชะมะ,ชิมิ (ใช่ไหม)
ว้าววว (ว้าว)
ป่าว (เปล่า)
เทอ (เธอ)
ชั้ล , ช้าน (ฉัน)
การลดรูปคำ 
เป็นรูปแบบของคำที่ลดรูปให้สั้นลง มีใช้ในภาษาพูด
มหาลัย หรือ มหา'ลัย (มหาวิทยาลัย)
วิดวะ (วิศวกรรม)
คำที่สะกดผิดเพื่อให้ตรงกับเสียงอ่าน 
ใช่ไหม → ใช่มั้ย
คำที่สะกดผิดเพื่อแสดงอารมณ์ 
ไม่ → ม่าย
ใช่ → ช่าย
ใคร → คราย
อะไร → อาราย
เป็นอะไร → เปงราย
ทำไม → ทามมาย
คำที่สะกดผิดเพื่อลดความหยาบของคำ 
หรืออาจใช้หลีกเลี่ยงการกรองคำหยาบของซอฟต์แวร์
กู → กรู
มึง → มรึง เมิง
ไอ้สัตว์ → ไอ้สาด
เราในฐานะประชาชนตนไทยจึงควรพูดและใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องนะคะ



ที่มา :  http://www.pm.ac.th/std_web/dex4/Sara/thaiproject.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น