วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

หลักภาษาไทย

                           
                            หลักภาษาไทย

อักขระวิธี ได้แก่ อักษร แปลว่า ตัวหนังสือ

เสียงในภาษาไทย มีอยู่ 3 อย่าง คือ
     1. เสียงแท้ ได้แก่ สระ
     2. เสียงแปร ได้แก่ พยัญชนะ
     3. เสียงดนตรี ได้แก่ วรรณยุกต์

สระ
      สระในภาษาไทย ประกอบด้วยรูปสระ 21 รูป และเสียงสระ 32 เสียง

พยัญชนะ
รูปพยัญชนะ มี 44 ตัว คือ
      1. อักษรสูง มี 11 ตัว คือ ข ข ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห
      2. อักษรกลาง มี 9 ตัว ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ
      3. อักษรต่ำ มี 24 ตัว คือ
       3.1 อักษรคู่ คืออักษรต่ำที่เป็นคู่กับอักษรสูง มี 14 ตัว คือ ค ค ฆ ช ฌ ซ ฑ ฒ ท ธ พ ภ ฟ ฮ
       3.2 อักษรเดี่ยว คืออักษรต่ำที่ไม่มีอักษรสูงเป็นคู่กัน มี 10 ตัว คือ ง ญ ณ น ม ย ร ล ว ฬ

วรรณยุกต์
วรรณยุกต์ มี 4 รูป ได้แก่
      1. ไม้เอก
      2. ไม้โท
      3. ไม้ตรี
      4. ไม้จัตวา
เสียงวรรณยุกต์ที่ใช้อยู่ในภาษาไทย มี 5 เสียง
      1. เสียงสามัญ คือเสียงกลาง ๆ เช่น กา มา ทา เป็น ชน
      2. เสียงเอก ก่า ข่า ป่า ดึก จมูก ตก หมด
      3. เสียงโท เช่น ก้า ค่า ลาก พราก กลิ้ง สร้าง
      4. เสียงตรี เช่น ก๊า ค้า ม้า ช้าง โน้ต มด
      5. เสียงจัตวา เช่น ก๋า ขา หมา หลิว สวย หาม ปิ๋ว จิ๋ว

คำเป็นคำตาย
      คำเป็น คือ คือเสียงที่ประสมทีฆสระ (สระเสียงยาว) ในแม่ ก กา เช่น กา กี กื กู
      คำตาย คือ คือเสียงที่ประสมรัสสระ (สระเสียงสั้น) ในแม่ ก กา เช่น กะ กิ กุ
      คำสนธิ คือ การต่อคำตั้งแต่สองคำขึ้นไปให้ติดเนื่องกัน โดยมีการเพิ่มสระในแทรกระหว่างคำหรือเพิ่มคำเพื่อติดต่อกันให้สนิท เช่น
ปิตุ + อิศ เป็น ปิตุเรศ
ธนู + อาคม เป็น ธันวาคม
มหา + อิสี เป็น มเหสี
      คำสมาส คือ การนำคำประสมตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปให้เป็นคำเดียวคำที่ใช้นำมาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เมื่อรวมกันแล้วความหมายเปลี่ยนไปก็มี, ความหมายคงเดิมก็มี เช่น
ราช + โอรส เป็น ราชโอรส
สุธา + รส เป็น สุธารส
คช + สาร เป็น คชสาร
      คำเป็น คือ พยางค์ทีประสมกับสระเสียงยาวในแม่ ก กา และพยางค์ที่มีตันสะกดใน แม่ กน กง กม เกย และสระ อำ ไอ ใอ เอา
      คำตาย คือ พยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก กา กก กด กบ แต่ยกเว้นสระ อำ ไอ ใอ เอา



ที่มา : http://www.kroobannok.com/415

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น